วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ


การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์

- วงการอุตสาหกรรม

- ธุรกิจธนาคาร

- ตลาดหลักทรัพย์

- โรงแรม

- การศึกษา

- โรงพยาบาล

ระบบงานพื้นฐานที่ใช้ในธุรกิจ


1.ระบบการสั่งซื้อ

2.ระบบการขาย

3. ระบบบัญชี

4. ระบบการเงิน

5. ระบบการผลิต

6. ระบบสินค้าคงคลัง



การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์
ระบบการสั่งซื้อ

ความหมาย “ การสั่งซื้อ ”

1. กระบวนการของกิจกรรมต่างๆ ที่กระทำขึ้นเพื่อรับผิดขอบในการจัดหาวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ ในกิจการให้มีความพร้อมอยู่เสมอ

2. การกำหนดประมาณความต้องการใช้ของกิจการ การสรรหา การคัดเลือกแหล่งขาย ในราคาที่เหมาะสม เงื่อนไขการชำระเงินที่พอใจ การจัดทำใบสั่งซื้อ การติดตามผลการสั่งซื้อ เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุอุปกรณ์ในเวลาที่กำหนดไว้

3. ภาระกิจเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ตามที่การต้องการ จากแหล่งผู้ขายที่ถูกต้อง และจัดส่งไปยังสถานที่อย่างถูกต้อง ในสภาพที่พร้อมที่ผลิต จัดจำหน่าย เพื่อใช้งาน

คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 9.1 การสั่งซื้อคือกระบวนการของกิจกรรมต่างๆ ที่กระทำขึ้นเพื่อรับผิดขอบในการจัดหาวัตถุดิบ
คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 9.2 การสั่งซื้อเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับผู้ซื้อและผู้ใช้

วัตถุประสงค์ของการสั่งซื้อ


1. เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับผู้ซื้อและผู้ใช้

2. เพื่อให้ได้สินค้าตามจำนวนไม่ขาดตอน และการลงทุนใน สต๊อกต่ำสุด สอดคล้องกับจำนวนสั่งซื่อที่ประหยัด และสภาวะความต้องการของตลาด

3. เพื่อให้ได้สินค้าในราคาต่ำสุด เมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพบริการ และคุณสมบัติของสินค้า

4. เพื่อให้กิจการมีกำไร อยู่ในสภาวะการแข่งขันได้เป็นอย่างดี

5. เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการซื้อสินค้าซ้ำซ้อน สินค้าชำรุด เสียหายและล้าสมัย

6. เพื่อตอบสนองความต้องการของฝ่ายต่างๆ ในองค์การและสอดคล้องกับนโยบายขององค์การ

วิธีบริหารการสั่งซื้อ (Methods of Buying Management)


การตัดสินใจซื้อของร้านค้าปลีกขนาดเล็กที่บุคคลคนเดียวตัดสินใจซื้อ ย่อมไม่มีปัญหาและวิธีการอะไรมากนัก แต่สำหรับวิธีการสั่งซื้อของกิจการค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ กิจการอุตสาหกรรม และสำนักงานนั้น มีวิธีการหลายแบบที่ต้องนำมาพิจารณาว่าวิธีใดจะเหมาะสมที่สุด ได้แก่

• ซื้อร่วมกัน (Cooperative Buying)

• ศูนย์กลางการสั่งซื้อ (Centralized Buying)

• คณะกรรมการสั่งซื้อ (committee Buying)


ระบบการขาย

ความหมาย “ การขาย”


หมายความถึงการทำสิ่งต่างๆ ตั้งแต่การวางแผนการทำการควบคุมการขายโดยพนักงานขาย และจะรวมถึงการประกาศรับสมัครคัดเลือกพนักงาน การอบรม การมอบหมายงาน การกำหนดเส้นทาง การตรวจตราควบคุม การจูงใจ การประเมินผล และการให้ผลตอบแทนแก่พนักงานขายด้วย

คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 9.3 โครงสร้างขององค์การขายที่ดี จะทำให้กำลังขาย สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 9.4 การขายตรงเป็นโครงสร้างแบบที่ง่ายที่สุด การตัดสินใจต่างๆ ทำได้รวดเร็วและ
แน่นอน

การจัดสายงานแบบต่างๆ ขององค์การขาย


โครงสร้างขององค์การขายที่ดี จะทำให้กำลังขายของบริษัทสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะขององค์การขายอาจจะแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมและปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดของบริษัท ประเภทของลูกค้า ประเภทของสินค้า ช่องทางการจำหน่าย คู่แข่งขัน และอื่นๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อโครงสร้างขององค์การขาย

องค์การขายโดยตรง


การจัดองค์การขายแบบนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก เพราะใช้กันมานานและง่ายแก่การปฏิบัติมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทขนาดเล็กซึ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพียงไม่กี่ชนิดและมีตลาดไม่กว้างขวางนัก สายการบังคับบัญชามีสายตรงจากผู้จัดการขายผ่านผู้ช่วยต่างๆ ไปตามลำดับจนถึงพนักงานขาย ไม่มีผู้ให้คำแนะนำปรึกษา พนักงานแต่ละคนจะรายงานตรงต่อผู้บังคับบัญชาที่เหนือกว่าเพียงคนเดียว หัวหน้าฝ่ายบริหารจะทำหน้าที่วางแผน กำหนดนโยบายในการดำเนินงานด้านต่างๆ ตลอดจนการควบคุมบังคับบัญชาเอง

ข้อดี เป็นโครงสร้างแบบที่ง่ายที่สุด การตัดสินใจต่างๆ ทำได้รวดเร็วและแน่นอนทั้งสะดวกแก่การควบคุม ปัญหาต่างๆ ไม่ค่อยมี จึงเหมาะสมกับกิจการที่มีพนักงานขายเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

ข้อเสีย การที่บุคคลเพียงคนเดียวต้องรับผิดชอบต่องานทุกเรื่อง ซึ่งบางเรื่องอาจไม่มีความชำนาญพอหรือมีเวลาพอที่จะทำงานได้ดีในแต่ละวัน ดังนั้นในบางครั้งผลที่ออกมาจึงไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งเมื่อกิจการขยายตัวมีผู้บริหารในระดับรองๆ เพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้มีปัญหาในเรื่องการติดต่อประสานงานเกิดขึ้น
องค์การขายโดยตรงและโดยตำแหน่ง

เมื่อธุรกิจขยายตัว ฝ่ายบริหารทางการตลาดก็เริ่มเล็งเห็นถึงความจำเป้นที่ต้องมีผู้ให้คำปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในด้านต่างๆ เช่น การโฆษณา การวิจัยตลาด การวิเคราะห์การขาย หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะผู้บริหารคนเดียวไม่อาจจะรอบรู้และเชี่ยวชาญในทุกๆด้านได้อย่างดี สำหรับผู้บริหารฝ่ายขายนั้นก็เช่นเดียวกันจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ช่วย เพื่อให้สามารถดำเนินงานการขายให้ได้ผลดีที่สุด การจัดโครงสร้างแบบนี้จึงเหมาะกับบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ซึ่งผลิตสินค้าหลายชนิด มีสาขาหลายแห่ง มีพนักงานขายจำนวนมากทำการขายไปทั่วประเทศทั้งมีลูกค้าจำนวนมากด้วย

ข้อดี การที่บุคคลที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมาแบ่งเบาภาระจากผู้บริหารขั้นสูงไป ทำให้การปฏิบัติงานโดยส่วนรวมมีประสิทธิภาพสูง ผู้บริหารมีเวลาที่จะไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่สำคัญๆ ได้มากขึ้น

ข้อเสีย ค่าใช้จ่ายในด้านการบริหารสูงขึ้นเนื่องจากต้องจ้างผู้ชำนาญมากขึ้น และความจำเป็นในการประสานงานระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญต่างๆ และในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับเจ้าหน้าที่ในสายงานก็ต้องมีการควบคุมเช่นกันโดยเฉพาะในเรื่องความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่


ระบบบัญชี

ระบบบัญชีซื้อ และ ระบบบัญชีเจ้าหนี้


ได้ข้อมูลจากออกใบสั่งซื้อสินค้า ใบบันทึกการรับสินค้า และใบกำกับสินค้าจากพ่อค้าที่ขายสินค้าหรือวัสดุให้กับบริษัท และเครื่องจะทำการลงบัญชีเจ้าหนี้ แสดงจำนวนเงินที่เป็นหนี้ การชำระหนี้ ยอดคงเหลือ นอกจากนี้ยังสามารถใช้พิมพ์เช็คที่จะชำระหนี้
คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 9.5 ระบบบัญชีขาย และระบบบัญชีลูกหนี้ ได้ข้อมูลจากรับใบสั่งซื้อจากลูกค้า
คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 9.6 ระบบบัญชีแยกประเภท การลงบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ

ระบบบัญชีขาย และระบบบัญชีลูกหนี้

ได้ข้อมูลจากรับใบสั่งซื้อจากลูกค้า มีการส่งสินค้า บันทึกการขาย ออกใบแจ้งหนี้ให้แก่ลูกค้าเมื่อถึงกำหนดชำระหนี้ และออกใบเสร็จรับเงินเมื่อได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว

ระบบบัญชี

ระบบบัญชีแยกประเภท


การลงบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ ข้อมูลที่ใช้คือใบบันทึกเกี่ยวกับบัญชีลูกหนี้ สินค้าคงคลัง บัญชีเจ้าหนี้ การจ่ายเงินเดือน การวิเคราะห์การขาย และใบแสดงการประเมินราคาปัจจุบันของที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ต่าง ๆ ของบริษัท จากข้อมูล
ดังกล่าวเครื่องจะสามารถออกรายงานการเงินต่าง ๆ เช่น งบดุล งบกำไรขาดทุน งบทดลอง งบรายได้


ระบบการเงิน

การเงิน
อาจให้คำจำกัดความได้ว่าเป็นทั้งศิลป์และศาสตร์ของการบริหารเงิน เห็นได้ชัดว่าบุคคลองค์กรทั้งหลายมีรายได้จากเงินและใช้จ่ายหรือลงทุนด้วยเงิน การเงินจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการ สถาบัน ตลาด และเครื่องมือในการเคลื่อนย้ายเงินระหว่างบุคคล

สาขาของการเงิน
สามารถสรุปได้จากโอกาสของอาชีพทางการเงิน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน กว้าง ๆ คือ การบริหารทางการเงิน และการเงินธุรกิจ

การบริการทางการเงิน (Financial Services)


เป็นสาขาทางการเงินที่เกี่ยวกับการออกแบบ ให้คำแนะนำ และนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินแก่บุคคล ธุรกิจ และรัฐบาล โอกาสของอาชีพที่เกี่ยวข้องก็มีหลากหลาย เช่น ธนาคารของสถาบันการเงิน การวางแผนการเงินบุคคล การลงทุน อสังหาริมทรัพย์และการประกันภัย

การเงินธุรกิจ ( Business Finance)


การเงินธุรกิจจะเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้จัดการทางการเงินในองค์กรธุรกิจ ผู้จัดการทางการเงิน (Financial managers) จะต้องบริหารงานทางการเงินของธุรกิจทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจของการเงินหรือไม่ใช่ก็ตาม เอกชนหรือรัฐ ขนาดใหญ่หรือเล็ก แสวงหากำไรหรือไม่แสวงหากำไร หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงินจะมีหลายประการ เช่น การจัดทำงบประมาณ การพยากรณ์ทางการเงิน การจัดการเงินสด การบริหารสินเชื่อ การวิเคราะห์การลงทุน และการจัดหาเงินทุน เป็นต้น

หน้าที่การเงินของกิจการ


ตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน (Treasurer) จะดูแลกิจกรรมทางการเงิน เช่น การวางแผนทางการเงิน การเพิ่มเงินทุน การตัดสินใจจ่ายลงทุน การบริหารเงินสด การจัดการด้านสินเชื่อ การจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญและการจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

โครงสร้างของการเงินในองค์กร


ในกิจการขนาดเล็ก หน้าที่ทางการเงินมักทำโดยแผนกบัญชี เมื่อกิจการมีขนาดใหญ่ขึ้น หน้าที่ทางการเงินจะแยกออกมาเป็นอีกแผนกหนึ่ง และขึ้นโดยตรงกับประธานกรรมการบริหารหรือ CEO ผ่านรองประธานกรรมการฝ่ายการเงิน ซึ่งมักเรียกว่า Chief financial officer หรือ CFO

กิจกรรมที่สำคัญของผู้จัดการทางการเงิน


(1) วิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน

(2) ตัดสินใจลงทุน

(3) ตัดสินใจจัดหาแหล่งเงินทุน

ความสัมพันธ์กับการบัญชี


ผู้จัดการทางการเงินจะใช้ข้อมูลทางการบัญชีแต่จะต่างจากนักบัญชีตรงที่นักบัญชียึดเกณฑ์คงค้างในการรวบรวมและนำเสนอข้อมูล โดยที่การเงินจะยึดกระแสเงินสดและจะใช้เป็นหลักในการตัดสินใจ

แหล่งเงินทุน

แหล่งเงินทุนจากภายนอกกิจการ ซึ่งสามารถหาได้ 3 ทาง คือ

(1) ผ่านสถาบันการเงิน ซึ่งจะรับฝากเงินและโอนเงินให้แก่ผู้ที่ต้องการเงินทุน ได้แก ธนาคาร กองทุนรวม

(2) ผ่านตลาดการเงิน ซึ่งจัดให้ผู้ที่ต้องการซื้อ ผู้ที่ต้องการขายเงินทุนประเภทต่าง ๆ ได้ทำการค้ากัน ได้แก่ พันธบัตร

(3) ขายหลักทรัพย์โดยตรง


ระบบการผลิต

ความหมาย “ การผลิต”


หมายถึงการนำปัจจัยการผลิตชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป มาทำให้เกิดสินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ สร้างอรรถประโยชน์ให้กับผู้บริโภค เพิ่มมูลค่าของสิ่งของให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 9.7 การผลิต หมายถึงการนำปัจจัยการผลิตชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป มาทำให้เกิดสินค้าและบริการ
คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 9.8 ระบบสินค้าคงคลังเป็นส่วนประกอบ อย่างหนึ่งสำหรับการผลิต

ปัจจัยการผลิต

ปัจจัยต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการผลิตประกอบด้วย 4 อย่าง คือ

1. ที่ดิน

2. ทุน
ทุนในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิต จะรวมถึงเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ วัตถุดิบ ในกระบวนการผลิต สินค้าคงคลัง อาคาร สิ่งปลูกสร้างสิ่งที่ใช้คงทน

3 . แรงงาน


4.ผู้ประกอบการ


วัตถุประสงค์ของการผลิต


คือมีผลผลิตที่มีคุณภาพดี มีประสิทธิภาพสูง มีการใช้จ่าย หรือต้นทุนต่ำ มีจำนวนสินค้าและบริการในปริมาณที่เพียงพอ พอเหมาะกับความต้องการของผู้บริโภค

การจัดการด้านการผลิต


• องค์ประกอบที่สำคัญในการจัดการด้านการผลิตมีดังนี้ คือ

• ทำเลที่ตั้งการผลิต

• การจัดการเกี่ยวกับวัสดุต่าง ๆ

• การดำเนินการผลิต

• การควบคุมการผลิต

ระบบสินค้าคงคลัง


ระบบสินค้าคงคลังเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งสำหรับการผลิต เพราะเป็นส่วนประกอบที่ทำหน้าที่ในการประเมินปริมาณสินค้าที่จำเป็นต่อการผลิต การจัดสรรการใช้สินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยในการวางแผนการผลิต การเก็บรักษาและการควบคุมระบบสินค้าคงคลังที่ดี จะช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถกำหนดเวลาการสั่งซื้อสินค้าอย่างแม่นยำ สามารถกำหนดปริมาณการสั่งซื้อด้วยจำนวนที่พอดีกับความต้องการและสามารถกำหนดเวลาที่สินค้านั้นจะถูกนำไปใช้ในการผลิต ซึ่งมีผลทำให้การผลิตดำเนินไปได้อย่างสม่ำเสมอ เป็นระเบียบ มีประสิทธิภาพ และประหยัด

ประเภทสินค้าในระบบสินค้าคงคลัง


1. วัตถุดิบทุกชนิดที่หลังจากผ่านขบวนการผลิต

2. ส่วนประกอบระหว่างการผลิต

3. สินค้าสำเร็จรูป

4. สินค้าสำหรับอุปกรณ์การผลิต

5. สินค้าสำหรับใช้ในการหีบห่อและการเคลื่อนย้าย

แหล่งที่มา  http://cw.rmuti.ac.th/lo/index.php?option=com_content&task=view&id=86&catid=39

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กระบวนการจัดการพัฒนาโปรเเกรม


กระบวนการจัดการพัฒนาโปรแกรม

วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบและการพัฒนาโปรแกรม
การวิเคราะห์และนิยามความต้องการ

ระบบคือกลุ่มขององค์การต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อ
จุดประสงค์อันเดียวกัน ระบบอาจจะประกอบด้วยบุคคลากร
เครื่องมือ เครื่องใช้ พัสดุ วิธีการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีระบบจัดการ อันหนึ่งเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์อันเดียวกัน ตัวอย่างเช่นในร่างกายคนเรา จะมีระบบ ในตัวคือมี ความสัมพันธ์ ติดต่อกันระหว่างสอง เส้นประสาทเซลล์รับรู้ความรู้สึกเพื่อบรรลุเป้าหมายในการรับรู้ความรู้สึก ร้อนหนาว เป็นต้น
คลิกเพื่อดูภาพขยายภาพเคลื่อนไหวที่ 4.1 วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบ
และการพัฒนาโปรแกรม


วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบและการพัฒนาโปรแกรม

การวิเคราะห์และนิยามความต้องการ
ในการใช้ภาษาก็ถือทำอย่างเป็นระบบนั่นระบบนั่นคือ ความสัมพันธ์ติดต่อกันระหว่าง การใช้คำสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการตีความให้เข้าใจภาษานั้นๆ ในธุรกิจก็เป็นระบบอย่างหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบคือ การตลาด โรงงาน การขาย การค้นคว้า การขนส่ง การเงิน บุคคล การทำงาน โดยที่ทั้งหมดมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้เกิดกำไร เมื่อเราศึกษาระบบใดระบบหนึ่ง เราควรจะต้องเข้าใจการทำงานของระบบนั้นให้ดีโดย การถามตัวเองตลอดเวลาด้วยคำถามเหล่านี้
1. ระบบทำอะไร ( What )
2. ทำโดยใคร ( Who )
3. ทำเมื่อไร ( When )
4. ทำอย่างไร ( How )


คลิกเพื่อดูภาพขยาย
วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบและการพัฒนาโปรแกรม

การวิเคราะห์และออกแบบระบบ

คือ วิธีการที่ใช้ในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาใหม่ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง หรือระบบย่อยของธุรกิจ นอกจากการสร้างระบบสารสนเทศใหม่แล้ว
การวิเคราะห์ระบบช่วยในการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วยก็ได้ การวิเคราะห์ระบบคือ การหาความต้องการ ( Requirements) ของระบบสารสนเทศว่าคืออะไร หรือต้องการเพิ่มเติมอะไรเข้ามา ในระบบและการออกแบบก็คือ การนำเอาความต้องการของระบบมาเป็นแบบแผนหรือเรียกว่าพิมพ์เขียว ในการสร้างระบบสารสนเทศนั้นให้ใช้ในงานได้จริง ผู้ที่ทำหน้านี้ก็คือ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ( System Analysis : SA )




วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบและการพัฒนาโปรแกรม

นักวิเคราะห์ระบบคือใคร

คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมและประมวลผล ให้กับผู้ใช้โดยให้ประโยชน์ต่อผู้ใช้คือ ความ
รวดเร็วและความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญต่อการบริหารของธุรกิจในปัจุบันที่มีการแข่งขันสูงผู้ใช้ ( Users ) จึงเป็นผู้กำหนดปัญหาและแนวทางของระบบงานที่นำมาแก้ไขซึ่งปัญหาแต่ ผู้ใช้เองไม่ทราบวิธีจะนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา หรือช่วยเหลือในการบริหาร ในทางตรงกันข้ามโปรแกรมเมอร์ (programmers) และช่างเทคนิค(technicians)เป็นผู้ที่สามารถจะใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์และป้อนคำสั่ง
ให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ต้องการ แต่โปรแกรมเมอร์หรือช่างเทคนิคมักจะไม่เข้าใจถึงระบบธุรกิจมากนัก

ดังนั้น ช่องว่างระหว่างนักธุรกิจหรือระบบงานในหน่วยงานต่างๆ กับโปรแกรมเมอร์หรือกับช่างเทคนิคจึงอาจเกิดขึ้นได้ นักวิเคราะห์ระบบจึงทำหน้าที่เป็นผู้สมานช่องว่างนี้ นักวิเคราะห์ระบบ

วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบและการพัฒนาโปรแกรม

ขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน

ระบบสารสนเทศทั้งหลายมีวงจรชีวิตที่เหมือนกันตั้งแต่เกิดจนตาย วงจรนี้จะเป็นขั้นตอนที่เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนเสร็จเรียบร้อย เป็นระบบที่ใช้งานได้ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าในแต่ละขั้นตอนจะต้องทำอะไร และทำอย่างไร ขั้นตอนการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้น ด้วยกัน คือ

1. เข้าใจปัญหา (Problem Recognition)

ระบบสารสนเทศจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารหรือผู้ใช้ตระหนักว่าต้องการระบบสารสนเทศหรือระบบจัดการเดิม ได้แก่ระบบเอกสารในตู้เอกสาร ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่ตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน ปัจจุบันผู้บริหารตื่นตัวกันมากที่จะให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงานของตน ในงานธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือใช้ในการผลิต ตัวอย่างเช่น บริษัทของเรา จำกัด ติดต่อซื้อสินค้าจากผู้ขายหลายบริษัท ซึ่งบริษัทของเราจะมีระบบ MIS ที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินที่บริษัทขอเราติดค้างผู้ขายอยู่ แต่ระบบเก็บข้อมูลผู้ขายได้เพียง 1,000 รายเท่านั้น แต่ปัจจุบันผู้ขายมีระบบเก็บข้อมูลถึง 900 ราย และอนาคตอันใกล้นี้จะเกิน 1,000 ราย ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงเรียกนักวิเคราะห์ระบบเข้ามาศึกษา แก้ไขระบบงาน ปัญหาที่สำคัญของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน คือ ระบบเขียนมานานแล้ว ส่วนใหญ่เขียนมาเพื่อติดตามเรื่องการเงิน ไม่ได้มี
จุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารในการตัดสินใจ แต่ปัจจุบันฝ่ายบริหารต้องการดูสถิติการขาย เพื่อใช้ในการคาดคะเนในอนาคต หรือความต้องการอื่นๆ เช่น สินค้าที่มียอดขายสูง หรือสินค้าที่ลูกค้าต้องการสูง หรือการแยกประเภทสินค้าต่างๆที่ทำได้ไม่ง่ายนัก การที่จะแก้ไขระบบเดิมที่มีอยู่แล้วไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก หรือแม้แต่การสร้างระบบใหม่ ดังนั้นควรจะมีการศึกษาเสียก่อนว่าความต้องการของเราเพียงพอที่เป็นไปได้หรือไม่ ได้แก่ "การศึกษาความเป็นไปได้" (Feasibility Study)

2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)

จุดประสงค์ของการศึกษาความเป็นไปได้ก็คือ การกำหนดว่าปัญหาคืออะไรและตัดสินใจว่าการพัฒนาสร้างระบบสารสนเทศ หรือการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมมีความเป็นไปได้หรือไม่โดยเสียค่าใช้จ่ายและเวลาน้อยที่สุด และได้ผลเป็นที่น่าพอใจปัญหาต่อไปคือ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องกำหนดให้ได้ว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความเป็นไปได้ทางเทคนิคและบุคลากร ปัญหาทางเทคนิคก็จะเกี่ยวข้องกับเรื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือเก่าๆถ้ามี รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ด้วย ตัวอย่างคือ คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในบริษัทเพียงพอหรือไม่ คอมพิวเตอร์อาจจะมีเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ไม่เพียงพอ รวมทั้งซอฟต์แวร์ ว่าอาจจะต้องซื้อใหม่ หรือพัฒนาขึ้นใหม่ เป็นต้น ความเป็นไปได้ทางด้านบุคลากร คือ บริษัทมีบุคคลที่เหมาะสมที่จะพัฒนาและติดตั้งระบบเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่มีจะหาได้หรือไม่ จากที่ใด เป็นต้น นอกจากนั้นควรจะให้ความสนใจว่าผู้ใช้ระบบมีความคิดเห็นอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งความเห็นของผู้บริหารด้วยสุดท้ายนักวิเคราะห์ระบบต้องวิเคราะห์ได้ว่า ความเป็นไปได้เรื่องค่าใช้จ่าย รวมทั้งเวลาที่ ใช้ในการพัฒนาระบบ และที่สำคัญคือ ผลประโยชน์ที่จะได้รับ เรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบเพื่อรองรับผู้ขายให้ได้มากกว่า 1,000 บริษัทนั้น ควรใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี ตั้งแต่เริ่มต้นจนใช้งานได้ ค่าใช้จ่ายเริ่มตั้งแต่พัฒนาจนถึงใช้งานได้จริงได้แก่ เงินเดือน เครื่องมือ อุปกรณ์ ต่างๆ เป็นต้น พูดถึงเรื่องผลประโยชน์ที่ได้รับอาจมองเห็นได้ไม่ง่ายนัก แต่นักวิเคราะห์ระบบควรมองและตีออกมาในรูปเงินให้ได้ เช่น เมื่อนำระบบใหม่เข้ามาใช้อาจจะทำให้ ค่าใช้จ่ายบุคลากรลดลง หรือกำไรเพิ่มมากขึ้น เช่น ทำให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้บริหารมีข้อมูลพร้อมที่จะช่วยในการตัดสินใจที่ดีขึ้น

วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบและการพัฒนาโปรแกรม

ขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน


3.วิเคราะห์ (Analysis)
เริ่มเข้าสู่การวิเคราะห์ระบบ การวิเคราะห์ระบบเริ่มตั้งแต่การศึกษาระบบการทำงานของธุรกิจนั้น ในกรณีที่ระบบเราศึกษานั้นเป็นระบบสารสนเทศอยู่แล้วจะต้องศึกษาว่าทำงานอย่างไร เพราะเป็นการยากที่จะออกแบบระบบใหม่โดยที่ไม่ทราบว่าระบบเดิมทำงานอย่างไร หรือธุรกิจดำเนินการอย่างไร หลังจากนั้นกำหนดความต้องการของระบบใหม่ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบจะต้องใช้เทคนิคในการเก็บข้อมูล (Fact-Gathering Techniques) ดังรูป ได้แก่ ศึกษาเอกสารที่มีอยู่ ตรวจสอบวิธีการทำงานในปัจจุบัน สัมภาษณ์ผู้ใช้และผู้จัดการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ เอกสารที่มีอยู่ได้แก่ คู่มือการใช้งาน แผนผังใช้งานขององค์กร รายงานต่างๆที่หมุนเวียนในระบบการศึกษาวิธีการทำงานในปัจจุบันจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบรู้ว่าระบบจริงๆทำงานอย่างไร ซึ่งบางครั้งค้นพบข้อผิดพลาดได้ ตัวอย่าง เช่น เมื่อบริษัทได้รับใบเรียกเก็บเงินจะมีขั้นตอนอย่างไรในการจ่ายเงิน ขั้นตอนที่เสมียนป้อนใบเรียกเก็บเงินอย่างไร เฝ้าสังเกตการทำงานของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจและเห็นจริงๆ ว่าขั้นตอนการทำงานเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบค้นพบจุดสำคัญของระบบว่าอยู่ที่ใด
การสัมภาษณ์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบควรจะต้องมีเพื่อเข้ากับผู้ใช้ได้ง่าย และสามารถดึงสิ่งที่ต้องการจากผู้ใช้ได้ เพราะว่าความต้องการของระบบคือ สิ่งสำคัญที่จะใช้ในการออกแบบต่อไป ถ้าเราสามารถกำหนดความต้องการได้ถูกต้อง การพัฒนาระบบในขั้นตอนต่อไปก็จะง่ายขึ้น เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจะนำมาเขียนรวมเป็นรายงานการทำงานของระบบซึ่งควร แสดงหรือเขียนออกมาเป็นรูปแทนที่จะร่ายยาวออกมาเป็นตัวหนังสือ การแสดงแผนภาพจะทำให้เราเข้าใจได้ดีและง่ายขึ้น หลังจากนั้นนักวิเคราะห์ระบบ อาจจะนำข้อมูลที่รวบรวมได้นำมาเขียนเป็น "แบบทดลอง" (Prototype) หรือตัวต้นแบบ แบบทดลองจะเขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ และที่ช่วยให้ง่ายขึ้นได้แก่ ภาษายุคที่ 4 (Fourth Generation Language) เป็นการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้งานตามที่เราต้องการได้ ดังนั้นแบบทดลองจึงช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อจบขั้นตอนการวิเคราะห์แล้ว นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเขียนรายงานสรุปออกมาเป็น ข้อมูลเฉพาะของปัญหา (Problem Specification) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

รายละเอียดของระบบเดิม ซึ่งควรจะเขียนมาเป็นรูปภาพแสดงการทำงานของระบบ พร้อมคำบรรยาย, กำหนดความต้องการของระบบใหม่รวมทั้งรูปภาพแสดงการทำงานพร้อมคำบรรยาย, ข้อมูลและไฟล์ที่จำเป็น, คำอธิบายวิธีการทำงาน และสิ่งที่จะต้องแก้ไข. รายงานข้อมูลเฉพาะของปัญหาของระบบขนาดกลางควรจะมีขนาดไม่เกิน 100-200 หน้ากระดาษ
4. ออกแบบ (Design)
ในระยะแรกของการออกแบบ นักวิเคราะห์ระบบจะนำการตัดสินใจของฝ่ายบริหารที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ด้วย (ถ้ามีหรือเป็นไปได้) หลังจากนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะนำแผนภาพต่างๆ ที่เขียนขึ้นในขั้นตอนการวิเคราะห์มาแปลงเป็นแผนภาพลำดับขั้น (แบบต้นไม้) หลังจากนั้นก็เริ่มตัดสินใจว่าควรจะจัดโครงสร้างจากโปรแกรมอย่างไร การเชื่อมระหว่างโปรแกรมควรจะทำอย่างไร ในขั้นตอนการวิเคราะห์นักวิเคราะห์ระบบต้องหาว่า "จะต้องทำอะไร (What)" แต่ในขั้นตอนการออกแบบต้องรู้ว่า " จะต้องทำอย่างไร (How)"

รายละเอียดของระบบเดิม ซึ่งควรจะเขียนมาเป็นรูปภาพแสดงการทำงานของระบบ พร้อมคำบรรยาย, กำหนดความต้องการของระบบใหม่รวมทั้งรูปภาพแสดงการทำงานพร้อมคำบรรยาย, ข้อมูลและไฟล์ที่จำเป็น, คำอธิบายวิธีการทำงาน และสิ่งที่จะต้องแก้ไข. รายงานข้อมูลเฉพาะของปัญหาของระบบขนาดกลางควรจะมีขนาดไม่เกิน 100-200 หน้ากระดาษในการออกแบบโปรแกรมต้องคำนึงถึงความปลอดภัย (Security) ของระบบด้วย เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น "รหัส" สำหรับผู้ใช้ที่มีสิทธิ์สำรองไฟล์ข้อมูลทั้งหมด เป็นต้น
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องออกแบบฟอร์มสำหรับข้อมูลขาเข้า (Input Format) ออกแบบรายงาน (Report Format) และการแสดงผลบนจอภาพ (Screen Format) หลักการการออกแบบฟอร์มข้อมูลขาเข้าคือ ง่ายต่อการใช้งาน และป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นถัดมาระบบจะต้องออกแบบวิธีการใช้งาน เช่น กำหนดว่าการป้อนข้อมูลจะต้องทำอย่างไร จำนวนบุคลากรที่ต้องการในหน้าที่ต่างๆ แต่ถ้านักวิเคราะห์ระบบตัดสินใจว่าการซื้อซอฟต์แวร์ดีกว่าการเขียนโปรแกรม ขั้นตอนการออกแบบก็ไม่จำเป็นเลย เพราะสามารถนำซอฟต์แวร์สำเร็จรูปมาใช้งานได้ทันที

สิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบมาทั้งหมดในขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมดจะนำมาเขียนรวมเป็นเอกสารชุดหนึ่งเรียกว่า "ข้อมูลเฉพาะของการออกแบบระบบ " (System Design Specification) เมื่อสำเร็จแล้วโปรแกรมเมอร์สามารถใช้เป็นแบบในการเขียนโปรแกรมได้ทัน ที่สำคัญก่อนที่จะส่งถึงมือโปรแกรมเมอร์เราควรจะตรวจสอบกับผู้ใช้ว่าพอใจหรือไม่ และตรวจสอบกับทุกคนในทีมว่าถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่ และแน่นอนที่สุดต้องส่งให้ฝ่ายบริหารเพื่อตัดสินใจว่าจะดำเนินการ ต่อไปหรือไม่ ถ้าอนุมัติก็ผ่านเข้าสู่ขั้นตอนการสร้างหรือพัฒนาระบบ (Construction)



5. สร้างหรือพัฒนาระบบ (Construction)
ในขั้นตอนนี้โปรแกรมเมอร์จะเริ่มเขียนและทดสอบโปรแกรมว่า ทำงานถูกต้องหรือไม่ ต้องมีการทดสอบกับข้อมูลจริงที่เลือกแล้ว ถ้าทุกอย่างเรียบร้อย เราจะได้โปรแกรมที่พร้อมที่จะนำไปใช้งานจริงต่อไป หลังจากนั้นต้องเตรียมคู่มือการใช้และการฝึกอบรมผู้ใช้งานจริงของระบบระยะแรก ในขั้นตอนนี้นักวิเคราะห์ระบบต้องเตรียมสถานที่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วจะต้องตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ทำงานเรียบร้อยดี โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมตามข้อมูลที่ได้จากเอกสารข้อมูลเฉพาะของการออกแบบ (Design Specification) ปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการเขียนโปรแกรม แต่ถ้าโปรแกรมเมอร์คิดว่าการเขียนอย่างอื่นดีกว่าจะต้องปรึกษานักวิเคราะห์ระบบเสียก่อน เพื่อที่ว่านักวิเคราะห์จะบอกได้ว่าโปรแกรมที่จะแก้ไขนั้นมีผลกระทบกับระบบทั้งหมดหรือไม่

โปรแกรมเมอร์เขียนเสร็จแล้วต้องมีการทบทวนกับนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้งาน เพื่อค้นหาข้อผิดพลาด วิธีการนี้เรียกว่า "Structure Walkthrough " การทดสอบโปรแกรมจะต้องทดสอบกับข้อมูลที่เลือกแล้วชุดหนึ่ง ซึ่งอาจจะเลือกโดยผู้ใช้ การทดสอบเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ แต่นักวิเคราะห์ระบบต้องแน่ใจว่า โปรแกรมทั้งหมดจะต้องไม่มีข้อผิดพลาด หลังจากนั้นต้องควบคุมดูแลการเขียนคู่มือซึ่งประกอบด้วยข้อมูลการใช้งานสารบัญการอ้างอิง "Help" บนจอภาพ เป็นต้น นอกจากข้อมูลการใช้งานแล้ว ต้องมีการฝึกอบรมพนักงานที่จะเป็นผู้ใช้งานจริงของระบบ เพื่อให้เข้าใจและทำงานได้โดยไม่มีปัญหาอาจจะอบรมตัวต่อตัวหรือเป็นกลุ่มก็ได้
6. การปรับเปลี่ยน (Conversion)
ขั้นตอนนี้บริษัทนำระบบใหม่มาใช้แทนของเก่าภายใต้การดูแลของนักวิเคราะห์ระบบ การป้อนข้อมูลต้องทำให้เรียบร้อย และในที่สุดบริษัทเริ่มต้นใช้งานระบบใหม่นี้ได้ การนำระบบเข้ามาควรจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย ที่ดีที่สุดคือ ใช้ระบบใหม่ควบคู่ไปกับระบบเก่าไปสักระยะหนึ่ง โดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกันแล้วเปรียบเทียบผลลัพธ์ว่าตรงกันหรือไม่ ถ้าเรียบร้อยก็เอาระบบเก่าออกได้ แล้วใช้ระบบใหม่ต่อไป

7. บำรุงรักษา (Maintenance)
การบำรุงรักษาได้แก่ การแก้ไขโปรแกรมหลังจากการใช้งานแล้ว สาเหตุที่ต้องแก้ไขโปรแกรมหลังจากใช้งานแล้ว สาเหตุที่ต้องแก้ไขระบบส่วนใหญ่มี 2 ข้อ คือ 1. มีปัญหาในโปรแกรม (Bug) และ 2. การดำเนินงานในองค์กรหรือธุรกิจเปลี่ยนไป จากสถิติของระบบที่พัฒนาแล้วทั้งหมดประมาณ 40% ของค่าใช้จ่ายในการแก้ไขโปรแกรม เนื่องจากมี "Bug"ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบควรให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษา ซึ่งปกติจะคิดว่าไม่มีความสำคัญมากนัก เมื่อธุรกิจขยายตัวมากขึ้น ความต้องการของระบบอาจจะเพิ่มมากขึ้น เช่น ต้องการรายงานเพิ่มขึ้น ระบบที่ดีควรจะแก้ไขเพิ่มเติมสิ่งที่ต้องการได้) การบำรุงรักษาระบบ ควรจะอยู่ภายใต้การดูแลของนักวิเคราะห์ระบบ เมื่อผู้บริหารต้องการแก้ไขส่วนใดนักวิเคราะห์ระบบต้องเตรียมแผนภาพต่าง ๆ และศึกษาผลกระทบต่อระบบ และให้ผู้บริหารตัดสินใจต่อไปว่าควรจะแก้ไขหรือไม่

เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน


1. คำอธิบายข้อมูล
ในการเขียนแผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram:DFD) เป็นการเขียนกระบวนการทำงานต่างๆ ในระบบงาน แต่รายละเอียดของข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏในระบบงาน แผนภาพการไหลของข้อมูล(DFD) ไม่สามารถนำเสนอได้ทั้งหมด ดังนั้นในการวิเคราะห์และออกแบบระบบจึงต้องมีการเขียนคำอธิบายข้อมูล (Data Description) หรือพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด รายละเอียด คำอธิบายข้อมูลต่างๆ ในระบบงาน พจนานุกรมข้อมูลอาจแยกเขียนได้ดังต่อไปนี้
• พจนานุกรมโครงสร้างข้อมูล (Data Structure Dictionary)
• พจนานุกรมกระแสการไหลของข้อมูล (Data Flow Dictionary)
• พจนานุกรมแหล่งการเก็บข้อมูล (Data Store Dictionary)
• พจนานุกรมหน่วยงานภายนอกระบบ (External Entity Dictionary)

2. การอธิบายการประมวลผล

การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้โดยการใช้แผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram) โดยการเขียนสัญลักษณ์การประมวลผลนั้นจะเขียนเพียงหัวข้อในการประมวลผลเท่านั้น ยังไม่มีการเขียนคำอธิบายโดยละเอียด ซึ่งเราสามารถเขียนอธิบายโดยละเอียดได้ด้วยการเขียนคำอธิบายการประมวลผล (Process Description) หรือ Process Specification จุดประสงค์ของการเขียน Process Specification เพื่อใช้เป็นสื่อระหว่างผู้ใช้ระบบโปรแกรมเมอร์ และนักวิเคราะห์ระบบ ได้เข้าใจตรงกันในการประมวลผลนั้น โดยโปรแกรมเมอร์จะเข้าใจการประมวลผลนั้นเพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรม โดยเฉพาะในกรณีของการมีโปรแกรมเมอร์หลายคนในการเขียนโปรแกรมในการสื่อให้เข้าใจตรงกัน ส่วนผู้ใช้ระบบจะได้เห็นถึงผลการวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์ระบบว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่